ขั้นตอนการขอเครื่องหมายฮาลาล

10 ขั้นตอนการขอเครื่องหมายฮาลาล ครบทุกข้อมูลในบทความเดียว

Table of Contents

10 ขั้นตอนการขอเครื่องหมายฮาลาล ครบทุกข้อมูลในบทความเดียว

อาหารนับเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต อาหารฮาลาลเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการบริโภคสำหรับชาวมุสลิมเช่นกัน เพราะอาหารฮาลาลจะต้องปราศจากสิ่งต้องห้ามและผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ต้องสะอาด การจัดเก็บที่ไม่ปะปนกับอาหารต้องห้ามชนิดอื่น การประกอบอาหารต้องมีคุณภาพและไม่มีสารปรุงแต่ง

ดังนั้นหากอาหารมีการขอเครื่องหมายฮาลาลรับรอว ชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะสามารถเลือกบริโภคได้โดยสนิทใจและปลอดภัย นำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยปัจจุบันอาหารฮาลาลก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะอาหารฮาลาลไม่ได้จำกัดเพียงแค่ชาวมุสลิมหรือชาวไทยมุสลิมเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถบริโภคได้แถมยังมั่นใจได้ด้วยว่าสะอาด 

การขอเครื่องหมายฮาลาล คืออะไร 

การขอเครื่องหมายฮาลาล คือ สัญลักษณ์ที่ใช้รับรองผลิตภัณฑ์อาหาร ว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม หมายความว่าอาหารที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาล (Halal) นั้น ได้ผ่านกรรมวิธีในการผลิต ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลามแล้วนั่นเอง โดยผู้ที่มีอำนาจในการออกเครื่องหมายฮาลาลในประเทศไทยให้แก่ผู้ผลิต คือ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 

วัตถุดิบชนิดใดห้ามใช้ผลิตในผลิตภัณฑ์ฮาลาล

วัตถุดิบที่ห้ามนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ฮาลาลโดยเด็ดขาดเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาอิสลาม ได้แก่

  1. หมู หมูป่า สุนัข
  2. ห้ามบริโภคสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น เสือ สิงโต รวมถึงนกล่าเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้ง 
  3. สัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู
  4. สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น ผึ้ง มด และนกหัวขวาน
  5. สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด แมลงวัน หนอน หรือสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  6. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก และสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  7. ลาและล่อที่เลี้ยงเอาไว้ใช้งาน 
  8. เนื้อของซากสัตว์ หมายถึงสัตว์และสัตว์ปีกที่ตายเองโดยไม่ได้ผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา 
  9. สัตว์บกและสัตว์ปีก ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม เช่น ถูกรัดคอตาย ถูกตีจนตาย ตกมาตาย
  10. สัตว์ที่ถูกพลีชีพให้แก่สิ่งอื่นจากอัลเลาะห์ ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ถูกเชือดโดยผู้เชือดกล่าวนามอื่นจากนามมอัลเลาะห์ เหตุผลที่ห้ามสำหรับกรณีนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธาทั้งสิ้น

นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น ถึงวัตถุดิบที่จะนำมาทำอาหารนั้นเป็นสัตว์ที่สามารถบริโภคได้ แต่ถ้าผ่านการเชือดที่ไม่ถูกวิธีและไม่ตรงตามหลักศาสนบัญญัติก็จะไม่สามารถเป็นอาหารฮาลาลและไม่สามารถขอเครื่องหมายฮาลาลได้เช่นกัน

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอเครื่องหมายฮาลาล

บุคคลธรรมดา 

สำหรับกรณียื่นแบบบุคคลธรรมดา จะต้องมีแรงม้ารวม 5-20 แรงม้า และ/หรือมีคนงาน 7-20 คน (ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะ) จึงจะสามารถยื่นเอกสารเพื่อขอเครื่องหมายฮาลาลได้

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
  4. คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  5. ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  6. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  7. คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  8. แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  9. หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต, ขั้นตอน, วัตถุดิบ, ส่วนผสม
  10. ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  11. แผนที่ตั้งโรงงาน

นิติบุคคล

  1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท
  2. หนังสือรับรองจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
  3. ใบอนุญาตตั้งโรงงานแบบ รง.2 หรือ รง.4 (ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน)
  4. ใบอนุญาตผลิตอาหาร (อ.2)
  5. คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  6. ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  7. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  8. คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  9. แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  10. หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต, ขั้นตอน, วัตถุดิบ, ส่วนผสม
  11. ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  12. แผนที่ตั้งโรงงาน

แนะนำ 10 ขั้นตอนการขอเครื่องหมายฮาลาล 

  1. สถานประกอบการยื่นคำขอตามแบบของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ชุด ตัวจริง 1 ชุด สำเนา 2 ชุด พร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ละ 6 ชิ้น และฉลากผลิตภัณฑ์ชนิดละ 1 ฉบับ (ติดบนกระดาษ เอ4)
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและเอกสารประกอบการขอรับรองฮาลาล
  3. รับแจ้งกำหนดวัน เวลา การตรวจสถานประกอบการ และรายนามกรรมการตรวจรับรองฮาลาล
  4. สถานประกอบการชำระค่าธรรมเนียมการขอรับรองฮาลาลและค่าพาหนะในการเดินทาง ก่อนกำหนดวันตรวจ
  5. คณะกรรมการตรวจรับรองฮาลาลตรวจสถานประกอบการ โดยตรวจสอบด้านกายภาพ และด้านชีวภาพ
  6. กรณีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและผลิตภัณฑ์ อาจมีสิ่งต้องห้ามตามหลักการศาสนาอิสลาม ต้องส่งตัวอย่าง วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ฮาลาลอาเซียน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
  7. ฝ่ายกิจการฮาลาล รายงานผลการตรวจรับรองฮาลาลต่อที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพื่อขออนุมัติการรับรองฮาลาลโดยมีประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
  8. เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด  มีมติอนุมัติรับรองฮาลาล ฝ่ายกิจการฮาลาลออกหนังสือรับรองฮาลาลให้สถานประกอบการ
  9. สถานประกอบการชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองฮาลาล
  10. การขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ยื่นเรื่องการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลให้แก่สถานประกอบการ ต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เอกสารในการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลประกอบด้วย เอกสารคำร้องขอรับรองฮาลาลของสถานประกอบการ สำเนาหนังสือรับรองฮาลาล และ สรุปผลการตรวจสถานประกอบการ

หมายเหตุ

  • ผู้ประกอบการต้องมีที่ปรึกษา และหรือที่ปรึกษาพิเศษประจำสถานประกอบการ และจ่ายค่าตอบแทนตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
  • กรณีที่เจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณารองรับฮาลาล หากมิได้รับการติดต่อหรือดำเนินการใดๆ จากสถานประกอบการภายในระยะเวลา 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ตรวจสถานประกอบการ ฝ่ายกิจการฮาลาล จะยกเลิกการร้องขอรับรองฮาลาลดังกล่าว และจะไม่คืนค่าธรรมเนียมและค่าพาหนะ
  • การตรวจสถานที่ผลิตของสถานประกอบการ จะตรวจครั้งละ 30-45 ผลิตภัณฑ์ หากผลิตภัณฑ์มากกว่านี้จะเป็นการตรวจติดตามหรือแล้วแต่กรณี

สรุป 

ผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการขอเครื่องหมายฮาลาล ก็ควรศึกษาวิธีปฏิบัติและทำตามอย่างเคร่งครัด เคารพในบทบัญญัติตามศาสนาที่ได้ตั้งไว้ ตามที่กล่าวมาข้างต้นการขอเครื่องหมายฮาลาลนั่นมีระยะเวลาในการดำเนินงานนั้นค่อนข้างใช้เวลารวมถึงเอกสารที่ต้องจัดเตรียมมากมาย 

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างรายได้จากโรงงานผลิตอาหารเสริมและต้องการประหยัดเวลาในการยื่นเรื่อง ทางเรา SSP Biotech ในเครือ Seven Stars Pharmaceutical มีบริการที่เกี่ยวข้องไว้บริการ ตั้งแต่รับผลิตอาหารเสริม ออกแบบ สร้างแบรนด์พร้อมยื่นจดทะเบียน  และขอเครื่องหมายฮาลาลให้ครบจบในที่เดียว หากสนใจสามารถติดต่อปรึกษารายละเอียดได้

ประชุมฝ่ายขายแบ่งปันความรู้ระหว่างแผนกผู้แทนขาย การตลาด ODMและR&D

วันที่ 28 สิงหาคม 2567 คณะผู้บริหารจัดประชุมยอดขายแผนกผู้แทนและแลกเปลี่ยนความระหว่างตัวแทนแต่ละแผนกเพื่อการทำงานในอนาคต

Read More »

กิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรม สวิปัสสนากรรมฐาน

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรมสวิปัสสนากรรมฐาน SEVEN STARS PHARMACEUTICAL ผู้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมพร้อมกับพระอาจารย์

Read More »