ชอบกินเค็มต้องระวัง ภัยร้ายจากโซเดียม อาจทำร้ายไตมากกว่าที่คุณคิด

ชอบกินเค็มต้องระวัง ภัยร้ายจากโซเดียม อาจทำร้ายไตมากกว่าที่คุณคิด

Table of Contents

ภัยร้ายจากโซเดียม เป็นอันตรายต่อไต และสุขภาพในระยะยาว

เมื่อพูดถึงโซเดียมแล้ว ก็เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะว่าโซเดียมช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย แต่ว่าปริมาณโซเดียมที่เราต้องการต่อวันนั้นไม่มาก จึงควรระมัดระวังปริมาณโซเดียมที่บริโภคให้ดีเพราะว่าโซเดียมที่มากเกินไปในร่างกายจะส่งผลต่อการทำงานของไตได้

แล้วเราควรบริโภคโซเดียมเท่าไหร่ อาหารอะไรที่มีปริมาณโซเดียมสูงบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบริโภคที่มากเกินไป และรักษาสุขภาพในระยะยาวได้ มาทำความรู้จักกับโซเดียมและอาหารที่มีโซเดียม เพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น

ควรบริโภคโซเดียมในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม

ปริมาณของโซเดียมที่ควรบริโภคต่อวันจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับเพศ ช่วงวัย สุขภาพโดยรวม แต่ปริมาณโดยเฉลี่ยสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปจะอยู่ที่ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเป็นจำนวน 1 ช้อนชา หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต ปริมาณโซเดียมต่อวันไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัม

แต่ว่าจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,696 คนตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป พบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงกว่าปริมาณที่ควรจะได้รับถึง 1.5-1.8 เท่า ยิ่งอายุมากขึ้น ปริมาณโซเดียมที่บริโภคก็ยิ่งสูงขึ้น 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม: ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2568 โดย กรมควบคุมโรค

ปริมาณโซเดียมที่สูงในร่างกายส่งผลอย่างไร

เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมที่มากเกินไป ก็จะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อขับโซเดียมส่วนเกินออก ทำให้อวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักกว่าเดิม ส่งผลให้อวัยวะแก่ตัวลงไวกว่าที่ควร และเสื่อมสภาพได้ง่าย อีกทั้งยังส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคประจำตัว และส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยรวมอีกด้วย

ปริมาณโซเดียมในอาหาร

สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือ โซเดียมไม่ได้จำเป็นต้องมีรสเค็มจัดแบบเกลือหรือผงชูรสเท่านั้น แต่ในเครื่องปรุงรสทั่วไป ซุปก้อน ผงฟู สารกันบูด และอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน นั่นหมายถึงขนมปังอบใหม่ หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีสารกันบูดก็จะส่วนผสมของโซเดียมเช่นกัน

ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูงได้แก่

  • อาหารกระป๋อง ทั้งอาหารทะเลและผักดอง เนื่องจากจุดประสงค์ของอาหารกระป๋องคืออายุการบริโภคที่ยืนยาว สามารถเก็บได้นาน อาจมีส่วนผสมของสารกันบูดที่มากกว่าสินค้าทั่วไป ทำให้มีปริมาณโซเดียมที่สูง ไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก
  • ชีส โดยเฉพาะชีสที่มีอายุ เพราะหนึ่งในกระบวนการผลิตชีสที่มีอายุยืนคือการเติมเกลือเพื่อคุมปริมาณความชื้นของตัวชีส ให้มีเนื้อสัมผัสที่พอดี ไม่ให้ชีสชื้นแฉะจนเกินไป และควบคุมการเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้ชีสในปริมาณที่น้อยก็มีโซเดียมที่สูงกว่าที่คิดได้
  • เครื่องปรุง ไม่ว่าจะเป็นซอสมะเขือ ซอสถั่วเหลือง น้ำสลัดที่วางขายทั่วไป มักจะมีโซเดียมสูงเสมอ จึงมีตัวเลือกของเครื่องปรุงโซเดียมต่ำด้วย
  • ขนมปัง โดยเฉพาะขนมปังที่มีเกลือผสมอย่างเช่นขนมปังโฮลวีท หรือขนมปังขาวขัดสี เพราะเกลือมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ขนมปังมีความแห้ง เนื้อสัมผัสไม่กรอบไม่นุ่มจนเกินไป ขนมปังบางยี่ห้อจึงมีโซเดียมสูงกว่ายี่ห้ออื่นๆ
  • สาหร่าย อาจมีโซเดียมสูงจากปริมาณเกลือในน้ำทะเล โดยเฉพาะสาหร่ายที่เป็นขนมทานเล่นที่มีการเพิ่มปริมาณเกลือและผงชูรสเพื่อความอร่อย
  • หอย หอยตลับต่างๆ เช่น หอยนางรม อาจมีโซเดียมสูงจากปริมาณเกลือในน้ำทะเล แม้จะล้างน้ำให้สะอาดหรือมีการทำอาหารปรุงรสชาติอ่อนแล้วก็มีปริมาณโซเดียมที่ค่อนไปทางสูงอยู่ดี

นอกจากตัวอย่างของอาหารโซเดียมสูงแล้ว อาหารอื่นๆในชีวิตประจำวันก็ยังมีส่วนผสมของโซเดียม เช่น ไข่ นม เนย เนื้อสัตว์ ถั่ว ธัญพืช แม้อาหารเหล่านี้โดยทั่วไปจะมีปริมาณโซเดียมที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอาหารแปรรูป แต่ก็ทำให้เห็นได้ว่าโซเดียมอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด และการบริโภคโซเดียมที่มากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำไม่ใช่เรื่องยากเลย

โรคร้ายจากโซเดียม

แม้การบริโภคโซเดียมอาจดูไม่ใช่ปัญหาในระยะสั้นเพราะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากเกินไปมีอันตรายมากกว่าที่คิด และโรคที่อาจเกิดจากปริมาณโซเดียมมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ล้วนส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว เช่น

โรคไต 

เกิดจากไตทำงานหนักเกินกว่าที่ควรจากการขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ยิ่งปริมาณโซเดียมมาก ไตก็จะยิ่งทำงานหนักมาก และเสื่อมสภาพได้ไวกว่าที่ควร

ผู้ป่วยโรคไตในระยะแรกมักไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคไต เพราะไม่มีอาการแสดงออกที่เห็นได้อย่างแน่ชัด มักจะแสดงอาการให้สังเกตได้ก็เป็นตอนที่ป่วยระยะท้ายๆแล้วเพราะไตได้รับความเสียหายมากจนร่างกายไม่สามารถทำงานตามปกติได้ นำไปสู่ภาวะไตวาย เสียชีวิต อาการที่มักพบเห็นได้แก่

  • ปัสสาวะผิดปกติ ทั้ง กลิ่น สี เพราะไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • ตัวบวม เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมในร่างกายมาก ไตไม่สามารถขับโซเดียมออกได้
  • เบื่ออาหาร ไปจนถึงคลื่นไส้ อาเจียน

ความดันโลหิตสูง 

เกิดจากปริมาณโซเดียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่ควร ทำให้เกิดการดึงน้ำเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนักเพื่อรับรองของเหลวในเส้นเลือดที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงในที่สุด

ภาวะความดันโลหิตสูงอาจส่งผลต่อผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอื่นๆมากเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เพราะภาวะความดันโลหิตสูงมีผลกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือด ทั้งหัวใจ สมอง อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นอัมพาตได้

การบริโภคยาลดความดันสามารถช่วยได้ แต่จะเห็นผลมากหากผู้ป่วยควบคุมปริมาณโซเดียมให้อยู่ภายในปริมาณที่แนะนำ ไม่บริโภคโซเดียมเกิน

ลดการบริโภคโซเดียม ลดโซเดียมในร่างกาย คำแนะนำจาก Seven Stars Pharmaceutical

Seven Stars Pharmaceutical เข้าใจว่าในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารที่ดีที่สุดกับร่างกายอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน หรืออาหารโซเดียมต่ำอาจจะหาได้ค่อนข้างยาก เราจึงเตรียมวิธีการลดปริมาณโซเดียมในชีวิตประจำวันไว้ดังนี้

  • เลี่ยงการรับประทานอาหารขนมถุง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป และเลือกบริโภคอาหารปรุงสดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เมื่อทำอาหาร เลือกใช้เครื่องปรุงที่ฉลากมีระบุว่า ลดปริมาณโซเดียม โซเดียมต่ำ
  • เลี่ยงการกินอาหารรสจัด ปรับนิสัยการรับประทานอาหาร
  • อ่านฉลากการโภชนาการของสินค้า การเปรียบเทียบสินค้าจะช่วยให้ลดปริมาณโซเดียมที่บริโภคในระยะยาวได้

การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระยะยาว นอกจากจะช่วยลดปริมาณโซเดียมในชีวิตประจำวันแล้ว ก็ยังเป็นการปรับให้เราหันมาใส่ใจการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น และดูแลร่างกายในระยะยาวได้

ผู้ที่หันมาดูแลสุขภาพอาจได้ยินในเรื่องของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเสริมสร้างสารอาหารที่ร่างกายต้องการและดูแลร่างกายให้แข็งแรงได้ และเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในการสร้างแบรนด์ดูแลสุขภาพ ปริมาณโซเดียมต่ำ ช่วยดูแลไตและรักษาระบบภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ สามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย Seven Stars Pharmeceutical พร้อมให้คำแนะนำในการผลิตอาหารเสริมสูตรที่เหมาะสม มีปริมาณโซเดียมต่ำ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://sevenstars.co.th/contact/ 

สรุป

แม้โซเดียมจะมีภาพจำในรูปแบบของอาหารรสเค็ม เกลือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส แต่แท้จริงแล้วโซเดียมก็เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่อยู่ในอาหารรอบตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูป การเลือกรับประทานอาหารที่ดีที่สุดให้กับตนเองและครอบครัว จะเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว และหลีกเลี่ยงโรคร้ายที่อาจมาถึงโดยไม่รู้ตัวจากการบริโภคโซเดียมเกินกว่าปริมาณที่แนะนำได้

ประชุมฝ่ายขายแบ่งปันความรู้ระหว่างแผนกผู้แทนขาย การตลาด ODMและR&D

วันที่ 28 สิงหาคม 2567 คณะผู้บริหารจัดประชุมยอดขายแผนกผู้แทนและแลกเปลี่ยนความระหว่างตัวแทนแต่ละแผนกเพื่อการทำงานในอนาคต

Read More »

กิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรม สวิปัสสนากรรมฐาน

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรมสวิปัสสนากรรมฐาน SEVEN STARS PHARMACEUTICAL ผู้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมพร้อมกับพระอาจารย์

Read More »

Seven Stars Pharmaceutical ร่วมงาน CPHI South East Asia 2024

งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเภสัชภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ครบวงจร

Read More »