Table of Contents
สำหรับผู้ที่กำลังสนใจในการสร้างแบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง อาหารเสริม ของใช้ หรือสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ การหาโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้กับธุรกิจของตนเองนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป และเมื่อศึกษาหาข้อมูลก็อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ OEM ODM และ OBM ว่าคืออะไร หรือมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นของ OEM ODM และ OBM คือโรงงานในการผลิตสินค้าที่มีบริการต่างกันออกไป แล้วข้อดีข้อเสียของโรงงานแต่ละประเภทคืออะไร? หาคำตอบได้ในบทความนี้เลย!
OEM, ODM และ OBM ผู้รับจ้างผลิตสินค้าที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ควรรู้จัก
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างแบรนด์ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจก็คือฐานการผลิตสินค้านั้นเอง โรงงานแต่ละประเภทจะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรงงาน OEM, ODM และ OBM ว่าคืออะไรบ้าง มีข้อดีที่แตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจของตนเองเหมาะสมกับโรงงานประเภทไหนที่สุด เป็นต้น เราจึงได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรงงาน OEM, ODM และ OBM ว่าคืออะไรไว้แล้ว ดังนี้
OEM คืออะไร (Original Brand Manufacturer)
รูปแบบโรงงานที่เป็นที่ผ่านตาและเป็นที่รู้จักมากที่สุดอาจเป็น OEM (Original Brand Manufacturer) โดย OEM คือ โรงงานที่ให้บริการผลิตสินค้าแบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุม Process ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาสินค้า วางแผนการผลิต ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โดยจะมุ่งเน้นการผลิตสินค้าให้กับผู้ว่าจ้างเป็นหลัก เช่น ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ
จุดเด่นของ OEM ก็คือ ความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ OEM รับผลิตมักจะเป็นสูตรมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งมีคิดค้นและพัฒนาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่ต้องวางระบบใหม่ แต่ก็ทำให้เกิดข้อเสียในแง่ของ คุณภาพของผลิตภัณฑ์เหมือนกับที่พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด ขาดความ Unique
ข้อดีของการว่าจ้าง OEM
- ไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งโรงงานผลิต ประหยัดงบประมาณได้ก้อนใหญ่
- มีผู้ดูแลการผลิตสินค้าให้แบบครบวงจร
- ประหยัดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาสินค้า สามารถเริ่มต้นผลิตได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถย้ายฐานการผลิตได้ค่อนข้างง่าย
ข้อเสียของการว่าจ้าง OEM
- คุณภาพของสินค้าอาจจะเหมือนแบรนด์อื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากใช้สูตรการผลิตมาตรฐานจากโรงงาน
- ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นสูงกว่าลงทุนผลิตเอง
ODM คืออะไร (Original Design Manufacturer)
ODM (Original Design Manufacturer) คือ โรงงานที่ให้บริการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของผู้ว่าจ้างแบบครบวงจร มีความคล้ายคลึงกับโรงงานประเภท OEM แต่ ODM จะมีจุดเด่นที่มีทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าพร้อมให้บริการกับผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะช่วยให้สามารถดีไซน์สินค้าพิเศษที่มีความ Exclusive และ Unique กว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปตามท้องตลาดได้
แบรนด์สินค้าที่เหมาะกับโรงงานประเภท ODM ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม หากคุณกำลังมองหาบริการ ODM เพื่อผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ของคุณ Seven Stars Pharmaceutical มีบริการ ODM ที่ช่วยให้การสร้างแบรนด์ของคุณสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการ One Stop Service ครบจบในที่เดียว
ข้อดีของการว่าจ้าง ODM
- ไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งโรงงานผลิตด้วยตัวเอง ช่วยประหยัดงบประมาณ
- มีทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าคอยให้คำปรึกษา และช่วยเหลือในการออกแบบผลิตภัณฑ์
- สินค้ามีความ Unique กว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด
- สามารถย้ายฐานการผลิตได้ง่าย
ข้อเสียของการว่าจ้าง ODM
- ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นสูงอาจสูงกว่าปกติขึ้นอยู่กับ Add-on ที่เพิ่มในการผลิตสินค้า
OBM คืออะไร (Original Brand Manufacturer)
OBM (Original Brand Manufacturer) คือ โรงงานที่ผู้ประกอบการจัดตั้งขึ้นมาเป็นของตัวเอง โดยมุ่งไปที่การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพ และกระบวนการผลิตได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน อีกทั้งยังช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกค่อนข้างมาก
โดยมากจะเป็นแบรนด์ที่มีความมั่นคง และต้องการกำลังผลิตสูง รวมถึงต้องการควบคุมคุณภาพและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จึงทำการจัดตั้งโรงงานของตนเองเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจในระยะยาว
ข้อดีของการจัดตั้ง OBM
- มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง สามารถควบคุมกระบวนการต่างๆ ได้โดยละเอียดและยืดหยุ่น
- สามารถทดลองปรับสูตรการผลิตได้ตลอดเวลา
- สามารถควบคุมต้นทุนของการผลิตได้
ข้อเสียของการจัดตั้ง OBM
- ใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูง
- ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากการผลิต (เช่น เงินเดือนพนักงาน และค่าบำรุงรักษาโรงงาน)
- ย้ายฐานการผลิตยาก
สรุปความแตกต่างระหว่าง OEM ODM และ OBM ควรเลือกแบบไหนดี?
เท่านี้ทุกคนก็น่าจะได้ทราบกันแล้วว่า OEM ODM และ OBM คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ทีนี้เรามาดูสรุปภาพรวมความแตกต่างของโรงงานผลิตทั้ง 3 รูปแบบนี้ว่าเป็นอย่างไร ควรเลือกแบบไหน และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการแบบใด
- OEM เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยสินค้าไม่ได้แตกต่างจากที่วางขายในท้องตลาดมากนัก และต้องการหาฐานการผลิตสินค้า
- ODM เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยสินค้ามีจุดขายและความโดดเด่นแตกต่างจากท้องตลาด และกำลังมองหาฐานผลิตสินค้าที่สามารถปรับสูตรการผลิตให้ตอบโจทย์ความค้องการได้
- OBM เหมาะสำหรับ แบรนด์ที่มีความมั่นคงและกำลังทรัพย์สูง ต้องการสร้างฐานการผลิตสินค้าที่สามารถควบคุม Process ต่าง ๆ ได้แบบ 100%
Seven Stars Pharmaceutical บริการ ODM ผลิตภัณฑ์ยา และเวชสำอางครบวงจร
Seven Stars Pharmaceutical มีบริการ ODM แบบครบวงจร ภายใต้ชื่อ SSP Biotech ที่ได้รับมาตรฐาน GMP PIC/S และมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับสากล ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม มากว่า 16 ปี เราจึงได้รับความไว้วางใจจากกแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย
หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการ ODM ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริการ ODM ของ SSP Biotech ได้ที่ sevenstars.co.th/ssp-biotech/
ประชุมฝ่ายขายแบ่งปันความรู้ระหว่างแผนกผู้แทนขาย การตลาด ODMและR&D
วันที่ 28 สิงหาคม 2567 คณะผู้บริหารจัดประชุมยอดขายแผนกผู้แทนและแลกเปลี่ยนความระหว่างตัวแทนแต่ละแผนกเพื่อการทำงานในอนาคต
Seven Stars Pharmaceutical ฉลองครบรอบ 17 ปี
วันที่ 28 สิงหาคม 2567 – เครือบริษัท Seven Stars Pharmaceutical จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์พร้อมเปิดงานกิจกรรมครบรอบ 17 ปี
กิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรม สวิปัสสนากรรมฐาน
วันที่ 21 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรมสวิปัสสนากรรมฐาน SEVEN STARS PHARMACEUTICAL ผู้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมพร้อมกับพระอาจารย์
Seven Stars Pharmaceutical ร่วมงาน CPHI South East Asia 2024
งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเภสัชภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ครบวงจร