OEM, ODM และ OBM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจ OEM, ODM และ OBM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

Table of Contents

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจในการสร้างแบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง อาหารเสริม ของใช้ หรือสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ การหาโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้กับธุรกิจของตนเองนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป และเมื่อศึกษาหาข้อมูลก็อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ OEM ODM และ OBM ว่าคืออะไร หรือมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นของ OEM ODM และ OBM คือโรงงานในการผลิตสินค้าที่มีบริการต่างกันออกไป แล้วข้อดีข้อเสียของโรงงานแต่ละประเภทคืออะไร? หาคำตอบได้ในบทความนี้เลย!

OEM, ODM และ OBM ผู้รับจ้างผลิตสินค้าที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ควรรู้จัก

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างแบรนด์ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจก็คือฐานการผลิตสินค้านั้นเอง โรงงานแต่ละประเภทจะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรงงาน OEM, ODM และ OBM ว่าคืออะไรบ้าง มีข้อดีที่แตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจของตนเองเหมาะสมกับโรงงานประเภทไหนที่สุด เป็นต้น เราจึงได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรงงาน OEM, ODM และ OBM ว่าคืออะไรไว้แล้ว ดังนี้

OEM คืออะไร (Original Brand Manufacturer)

รูปแบบโรงงานที่เป็นที่ผ่านตาและเป็นที่รู้จักมากที่สุดอาจเป็น OEM (Original Brand Manufacturer) โดย OEM คือ โรงงานที่ให้บริการผลิตสินค้าแบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุม Process ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาสินค้า วางแผนการผลิต ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โดยจะมุ่งเน้นการผลิตสินค้าให้กับผู้ว่าจ้างเป็นหลัก เช่น ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ

จุดเด่นของ OEM ก็คือ ความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ OEM รับผลิตมักจะเป็นสูตรมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งมีคิดค้นและพัฒนาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่ต้องวางระบบใหม่ แต่ก็ทำให้เกิดข้อเสียในแง่ของ คุณภาพของผลิตภัณฑ์เหมือนกับที่พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด ขาดความ Unique

ข้อดีของการว่าจ้าง OEM

  • ไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งโรงงานผลิต ประหยัดงบประมาณได้ก้อนใหญ่
  • มีผู้ดูแลการผลิตสินค้าให้แบบครบวงจร
  • ประหยัดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาสินค้า สามารถเริ่มต้นผลิตได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถย้ายฐานการผลิตได้ค่อนข้างง่าย

ข้อเสียของการว่าจ้าง OEM

  • คุณภาพของสินค้าอาจจะเหมือนแบรนด์อื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากใช้สูตรการผลิตมาตรฐานจากโรงงาน
  • ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นสูงกว่าลงทุนผลิตเอง

ODM คืออะไร (Original Design Manufacturer)

ODM (Original Design Manufacturer) คือ โรงงานที่ให้บริการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของผู้ว่าจ้างแบบครบวงจร มีความคล้ายคลึงกับโรงงานประเภท OEM แต่ ODM จะมีจุดเด่นที่มีทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าพร้อมให้บริการกับผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะช่วยให้สามารถดีไซน์สินค้าพิเศษที่มีความ Exclusive และ Unique กว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปตามท้องตลาดได้

แบรนด์สินค้าที่เหมาะกับโรงงานประเภท ODM ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม หากคุณกำลังมองหาบริการ ODM เพื่อผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ของคุณ Seven Stars Pharmaceutical มีบริการ ODM ที่ช่วยให้การสร้างแบรนด์ของคุณสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการ One Stop Service ครบจบในที่เดียว

ข้อดีของการว่าจ้าง ODM

  • ไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งโรงงานผลิตด้วยตัวเอง ช่วยประหยัดงบประมาณ
  • มีทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าคอยให้คำปรึกษา และช่วยเหลือในการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สินค้ามีความ Unique กว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด
  • สามารถย้ายฐานการผลิตได้ง่าย

ข้อเสียของการว่าจ้าง ODM

  • ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นสูงอาจสูงกว่าปกติขึ้นอยู่กับ Add-on ที่เพิ่มในการผลิตสินค้า

OBM คืออะไร (Original Brand Manufacturer)

OBM (Original Brand Manufacturer) คือ โรงงานที่ผู้ประกอบการจัดตั้งขึ้นมาเป็นของตัวเอง โดยมุ่งไปที่การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพ และกระบวนการผลิตได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน อีกทั้งยังช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกค่อนข้างมาก

โดยมากจะเป็นแบรนด์ที่มีความมั่นคง และต้องการกำลังผลิตสูง รวมถึงต้องการควบคุมคุณภาพและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จึงทำการจัดตั้งโรงงานของตนเองเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจในระยะยาว

ข้อดีของการจัดตั้ง OBM

  • มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง สามารถควบคุมกระบวนการต่างๆ ได้โดยละเอียดและยืดหยุ่น
  • สามารถทดลองปรับสูตรการผลิตได้ตลอดเวลา
  • สามารถควบคุมต้นทุนของการผลิตได้

ข้อเสียของการจัดตั้ง OBM

  • ใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูง
  • ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากการผลิต (เช่น เงินเดือนพนักงาน และค่าบำรุงรักษาโรงงาน)
  • ย้ายฐานการผลิตยาก

สรุปความแตกต่างระหว่าง OEM ODM และ OBM ควรเลือกแบบไหนดี?

เท่านี้ทุกคนก็น่าจะได้ทราบกันแล้วว่า OEM ODM และ OBM คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ทีนี้เรามาดูสรุปภาพรวมความแตกต่างของโรงงานผลิตทั้ง 3 รูปแบบนี้ว่าเป็นอย่างไร ควรเลือกแบบไหน และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการแบบใด

  • OEM เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยสินค้าไม่ได้แตกต่างจากที่วางขายในท้องตลาดมากนัก และต้องการหาฐานการผลิตสินค้า
  • ODM เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยสินค้ามีจุดขายและความโดดเด่นแตกต่างจากท้องตลาด และกำลังมองหาฐานผลิตสินค้าที่สามารถปรับสูตรการผลิตให้ตอบโจทย์ความค้องการได้
  • OBM เหมาะสำหรับ แบรนด์ที่มีความมั่นคงและกำลังทรัพย์สูง ต้องการสร้างฐานการผลิตสินค้าที่สามารถควบคุม Process ต่าง ๆ ได้แบบ 100%

Seven Stars Pharmaceutical บริการ ODM ผลิตภัณฑ์ยา และเวชสำอางครบวงจร

Seven Stars Pharmaceutical มีบริการ ODM แบบครบวงจร ภายใต้ชื่อ SSP Biotech ที่ได้รับมาตรฐาน GMP PIC/S และมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับสากล ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม มากว่า 16 ปี เราจึงได้รับความไว้วางใจจากกแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย

หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการ ODM ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริการ ODM ของ SSP Biotech ได้ที่ sevenstars.co.th/ssp-biotech/

พิธีทำบุญตักบาตรประจำเดือน เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของ คุณแม่นิธินันท์ ฐานะโชติพันธุ์

พิธีทำบุญตักบาตรประจำเดือน เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของ คุณแม่นิธินันท์ ฐานะโชติพันธุ์

Read More »

SEVEN STARS Trip Heritage Czech Republic 2024

ทีมผู้บริหาร เครือบริษัท Sevenstars Group ได้จัดทริปเที่ยวสัมผัสเมืองสุดสวยงามในดินแดนยุโรปตะวันออก ณ สาธารณรัฐเช็ก (Czech) ในวันที่ 8 – 15 พฤษภาคม 2567

Read More »