Table of Contents
10 ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน อย. ครบทุกข้อมูลในบทความเดียว
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่มีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไปต่างต้องทำการขอ อย.ก่อนที่จะผลิตสินค้าออกมา เพื่อเป็นการรับรองมาตรฐานทางด้านคุณภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคก่อนที่จะซื้อสินค้านั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการการผลิตที่ต้องทำการขอ อย. ให้แก่สินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่อไป
การขอ อย. คืออะไร
การขอ อย. คือ การขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ความน่าเชื่อถือในตัวของผลิตภัณฑ์ และได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. Food and drug submission (FDA) ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการจึงควรทำการขออนุญาตขึ้นทะเบียน อย. ให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายต่อไป อย่างไรก็ตามแม้จะมีกลุ่มสินค้าที่ต้องขอขึ้นทะเบียน อย. แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับกลุ่มสินค้าที่ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน อย. ด้วยเช่นกัน
สินค้าที่ต้องผ่านการขอ อย.
โดยกลุ่มสินค้าที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. คือ สินค้าที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ อาหาร เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต และวัตถุอันตรายในบ้านเรือน
- อาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาหารที่ต้องมีการขอ อย.
อาหารควบคุมเฉพาะ เช่น เครื่องดื่ม อาหารที่บรรจุในภาชนะปิด และอาหารที่บรรจุในภาชนะเปิด
อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่น น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันพืช อาหารกึ่งสำเร็จรูป
อาหารที่ต้องมีฉลาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ หมากฝรั่ง ลูกอม อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที อาหารพร้อมปรุง
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต เช่น ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยแพทย์ ชุดตรวจเชื้อ HIV คอนแทคเลนส์
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว
สินค้าที่ไม่ต้องผ่านการขอ อย.
โดยกลุ่มสินค้าที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่จะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยาอยู่บนฉลาก คือ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องจดแจ้งรายละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนบางประเภท
- ยาบางประเภทที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา
- เครื่องสำอาง ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง (แบบเดียวกับเครื่องสำอาง) เช่น เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียม ซิลิโคน
- เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลาก และไม่ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต รถเข็นผู้ป่วย เตียงผู้ป่วย
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนบางประเภท ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง (แบบเดียวกับเครื่องสำอาง) เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า เครื่องสุขภัณฑ์ วัตถุต่างๆที่มีสารที่ อย. กำหนด เป็นต้น
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอ อย.
- ใบจดทะเบียนผลิตภัณฑ์/ใบแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต จำนวน 1 ฉบับ
- ใบรับรองสถานที่ผลิตที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP.
แนะนำ 10 ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียน อย.
- ศึกษารายละเอียดในคู่มือผู้ประกอบการของทาง อย. (ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือการขออนุญาตที่เกี่ยวข้อง)
- กรอกคำขอและเตรียมเอกสารหลักฐาน (ตามที่ระบุในคู่มือสำหรับผู้ประกอบการ)
- ตรวจสอบเอกสารหลักฐานของตนเองให้ครบถ้วนด้วยบันทึกตรวจสอบคำขอ (checklist)
- นัดหมายเวลาล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ของ อย. เพื่อยื่นคำขออนุญาต
- รายงานตัวที่ช่องบริการที่ระบุตามใบนัด ก่อนเวลานัดหมาย 15 นาที
- ยื่นคำขอและเอกสารที่ช่องบริการ ตามเวลานัดหมาย
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสาร
- เจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอ
- เจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาในการขออนุมัติขึ้นอยู่กับกลุ่มผลิตภัณฑ์)
- เมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ จะได้รับเอกสารรับรองการขึ้นทะเบียน อย.
โดยสถานที่บริการรับคำขอขึ้นทะเทียน อย. ได้แก่
- ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center : OSSC)
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ
- ยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ต (E-submission)
สรุป
ขั้นตอนการขอ อย. แม้จะไม่ได้ยากจนเกินไป แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งจัดตั้งธุรกิจ อาจจะประสบปัญหาหรือไม่เข้าใจในขั้นตอนต่างๆ จนทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากไปโดยปริยายในการยื่นขอ อย.หลายรอบ และเมื่อยังไม่ได้รับเลข อย. จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตสินค้าได้ตามกำหนด เกิดความล่าช้า และเกิดความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้
SSP Biotech ในเครือ Seven Stars Pharmaceutical จึงให้บริการแบบครบวงจร สามารถใช้บริการการขอขึ้นทะเบียน อย. ได้ทันที จากทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเตรียมเอกสาร ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการขอขึ้นทะเบียน อย. สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี
วิธีทานอาหารเสริมที่ถูกต้อง ทานอย่างไรให้ปลอดภัยและเห็นผล
สิ่งที่ควรทำก่อนการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมต่าง ๆ คือการศึกษาวิธีกินอาหารเสริมอย่างถูกต้อง เพื่อผลลัพธ์ที่ปลอดภัย และตรงตามคาดหวัง อ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้ในบทความนี้เลย !
GMP PIC/S มาตรฐานของโรงงานผลิตยาที่เหนือกว่า
ผู้ประกอบการหลายคนอาจรู้จักกับ GMP แต่รู้หรือไม่ว่ามีมาตรฐานที่เหนือกว่า คือ GMP PIC/S นั่นเอง ในบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ GMP PIC/S ที่น่ารู้มาไว้แล้ว!
Amarin Baby & Kids Awards 2023 โดยแบรน mamarine ได้รับรางวัล MOMMY’S Choices
คุณปิยารมย์ บุนนาค ผู้บริหาร Seven Stars Group และ บริษัทในเครือ เข้ารับรางวัลจากการโหวดสุดยอดแบรนด์ของแม่ลูก และครอบครัว ประจำปี 2023
คอลลาเจนไทพ์ทูคืออะไร ช่วยบำรุงข้อเข่า ข้อต่อได้จริงหรือ?
หลายคนอาจไม่ทราบว่าคอลลาเจนเป็นหนึ่งในตัวช่วยบำรุงข้อเข่าและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งคอลลาเจนไทพ์ทูก็ถูกนำมาผลิตอาหารเสริมเพื่อดูแลกระดูกอ่อนอย่างกว้างขวาง