Table of Contents
ทำความรู้จัก โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร อาการเป็นแบบไหน รักษาอย่างไรได้บ้าง
เมื่อพูดถึงคำว่า “โรคออฟฟิศซินโดรม” แล้ว ไม่ว่าใครก็คงรู้จักหรือเคยได้ยินมาบ้าง และโรคออฟฟิศซินโดรมนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสุขภาพเฉพาะพนักงานออฟฟิศเท่านั้น แต่วัยเรียน วัยทำงานอาชีพอื่นๆ หรือผู้สูงอายุก็มีความเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้หากมีการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเป็นระยะเวลานาน
Seven Stars Pharmaceutical เข้าใจปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ และสนับสนุนการเริ่มต้นใส่ใจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม หรือลดแนวโน้มการเกิดอาการเรื้อรัง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถละเลยได้เพื่อดูแลสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังโควิดที่การใช้สื่อออนไลน์มีบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการเรียนการสอนหรือการทำงานก็เปลี่ยนไป ใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มากขึ้น การใส่ใจสุขภาพในทุกๆวันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรมจึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร เกิดจากอะไร
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงโรคที่มักเกิดจากการนั่งทำงานออฟฟิศ หน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน โดยลักษณะหรืออาการจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ใช้งานกล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆจนเกิดภาวะอักเสบและปวดเมื่อย มักจะปวดในช่วงบริเวณ คอ บ่า ไหล ร้าวช่วงแขนและข้อมือ
บางคนอาจสับสนอาการปวดตามลำตัวทั่วไปกับออฟฟิศซินโดรม แม้อาการปวดคอบ่าไหล่ทั่วไปจะใกล้เคียงกับออฟฟิศซินโดรม แต่หากสังเกตอาการในระยะยาวจะพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
อาการของออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง สังเกตได้อย่างไร?
- อาการปวดร้าวในช่วงบริเวณข้อมือ ขึ้นมาช่วงแขน โดยเฉพาะเวลานั่งทำงาน
- นิ้วล็อค มือชา ปวดร้าวบริเวณข้อมือ อาจเจ็บจนทำงานไม่ไหว
- อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ อาจลงไปบริเวณหลัง เช่น สะบัก โดยเป็นอาการปวดที่ไม่สามารถระบุหรือชี้ชัดได้ว่ามาจากบริเวณใด
นอกจากอาการปวดดังกล่าวแล้ว อาการอื่นๆที่อาจเห็นได้ มักจะเป็น อาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดตา ปวดกระบอกตา ตาพร่ามัว จากการใช้สายตาหนักๆติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และอาการปวดขา ปวดหลัง จากการนั่งทำงานในท่าเดิม
ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร
ในเมื่อออฟฟิศซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปไม่ใช่แค่กับพนักงานออฟฟิศเท่านั้น การเข้าใจที่มาและสาเหตุจึงเป็นก้าวสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ โดยสาเหตุหลักๆของการเกิดออฟฟิศซินโดรมมาจาก
สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
- จอคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับสายตา ทำให้ต้องเงย/ก้มหน้าในองศาที่ปวดกล้ามเนื้อคอได้ง่าย
- องศาการใช้เม้าส์/แป้นพิมพ์ที่ต้องยกข้อศอก แขน ข้อมือ ทำให้ข้อศอก แขน ข้อมือ อยู่ในองศาที่เกร็งหรือไม่เป็นธรรมชาติเป็นระยะเวลานาน
- การนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง หรือเก้าอี้มีพนักพิงที่ไม่มีการหนุนหลัง ไม่หนุนท่านั่ง ทำให้นั่งทำงานผิดหลักสรีระ ก่อให้เกิดอาการปวดหลังและบริเวณอื่นของร่างกายได้
แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม
การรักษาออฟฟิศซินโดรมสามารถเริ่มต้นทำได้ที่บ้านด้วยตนเองด้วยหลากหลายวิธี หรือจะเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาเฉพาะทางที่ถูกจุดก็ได้
- การปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ถูกหลักสรีระมากขึ้น โดยการ เตรียมเก้าอี้ที่มีหมอนหนุนหลังและคอ สามารถปรับความสูงต่ำได้ และโต๊ะทำงานที่มีความสูงพอเหมาะ ให้ระดับของหน้าจออยู่พอดีกับสายตา และระดับของแป้นพิมพ์กับเม้าส์อยู่ในระดับที่พอดีกับข้อศอก
- การพักสายตา ใช้เวลายืดกล้ามเนื้อ ขยับร่างกายเล็กน้อยเช่น ลุกไปเดินบ้าง เพื่อเป็นการผ่อนคลายมัดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายสายตา ไม่ให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมหรือกดทับมากเกินไป
- การนวดแผนไทย สามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นได้เฉพาะจุด สามารถนวดได้ทุกเดือน หรือนวดในช่วงที่ร่างกายค่อนข้างตึงจะสามารถช่วยในเรื่องออฟฟิศซินโดรมได้
- การทำกายภาพบำบัด การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญอย่างนักกายภาพบำบัดจะช่วยให้ได้รับคำวินิจฉัยและคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลร่างกาย และการทำกายภาพเพื่อลดอาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากต้องการรับประทานยาเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรม ควรเข้าปรึกษาแพทย์ก่อนเผื่อรับยาที่รักษาได้อย่างตรงจุด และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ด้วย
วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
- การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้ไม่ยากด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เพียงเล็กน้อย
- การปรับสภาพแวดล้อม เตรียมอุปกรณ์การทำงาน ให้เอื้อต่อสรีระร่างกาย ช่วยให้ทำงานได้อย่างสะดวก ลดแนวโน้มการปวดกล้ามเนื้อ
- ยืดกล้ามเนื้อระหว่างการนั่งทำงาน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- การนวดแผนไทย นวดผ่อนคลาย ช่วยลดโอกาสการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป หรือเส้นตึงเกินไป ลดแนวโน้มการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
- การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะขาดสารอาหาร สามารถเลือกการรับประทานอาหารเสริมยี่ห้อที่มีมาตรฐานเพื่อให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมตนเอง หรือได้รับการบำรุงที่จำเป็นได้
เช่น วิตามินซีช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเครียดจากการทำงาน วิตามินดีช่วยในเรื่องของระบบประสาทและกระดูก สามารถช่วยปรับสมดุลร่างกาย ลดโอกาสการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ แมกนีเซียมสามารถลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย วิตามินบีอย่าง B1 B6 B12 ช่วยเสริมสร้างระบบประสาท ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดูแลสุขภาพ ต้านออฟฟิศซินโดรม ไปด้วยกันกับ Seven Stars Pharmaceutical
การดูแลร่างกายที่ดีที่สุดคงไม่พ้นพื้นฐานของการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ เพื่อนให้มั่นใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเสมอ สำหรับชาวออฟฟิศหลายท่านที่อาจประสบปัญหาทำงานจนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และต้องการหาอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย เติมเต็มสารอาหารที่ร่างกายขาดไปได้ สามารถปรึกษา Seven Stars Pharmaceutical เพื่อการผลิตอาหารเสริมที่ดีและตอบโจทย์ที่สุดสำหรับชาวออฟฟิศซินโดรมทุกท่าน สามารถติดต่อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
สรุป
โรคออฟฟิศซินโดรม แม้ว่าจะเป็นโรคที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในวัยเรียนและวัยทำงาน แต่ก็เป็นโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น และการรับประทานอาหารเสริมต่างๆเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินที่เพียงพอต่อการฟื้นฟูบำรุงร่างกาย จะช่วยลดโอกาสการเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ เช่น วิตามินซี กลุ่มวิตามินบี และวิตามินดี หากร่างกายมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุงซ่อมแซมแล้ว การดูแลรักษาสุขภาพให้ไม่เจ็บป่วยก็ง่ายขึ้นไปอีกหนึ่งขั้นตอน
ประชุมฝ่ายขายแบ่งปันความรู้ระหว่างแผนกผู้แทนขาย การตลาด ODMและR&D
วันที่ 28 สิงหาคม 2567 คณะผู้บริหารจัดประชุมยอดขายแผนกผู้แทนและแลกเปลี่ยนความระหว่างตัวแทนแต่ละแผนกเพื่อการทำงานในอนาคต
Seven Stars Pharmaceutical ฉลองครบรอบ 17 ปี
วันที่ 28 สิงหาคม 2567 – เครือบริษัท Seven Stars Pharmaceutical จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์พร้อมเปิดงานกิจกรรมครบรอบ 17 ปี
กิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรม สวิปัสสนากรรมฐาน
วันที่ 21 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรม คอร์สปฏิบัติธรรมสวิปัสสนากรรมฐาน SEVEN STARS PHARMACEUTICAL ผู้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมพร้อมกับพระอาจารย์
Seven Stars Pharmaceutical ร่วมงาน CPHI South East Asia 2024
งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเภสัชภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ครบวงจร